ลูกเสือไม่มีเกษียณ
ONCE A SCOUT, ALWAYS A SCOUT
----------------------------
ทองคำแท้คงค่าความเป็นทอง
หาสิ่งใดที่ทำให้หมองได้ไม่
สนิมกัดกล่อนได้แต่เนื้อเหล็ก
ไม่อาจแม้น้อยนิดเกาะกินเนื้อทอง
กิจการลูกเสือไทยได้ดำเนินการมาเป็นเวลา
๙๖
ปีแล้ว
เป็นกิจการที่นับได้ว่ามีความเจริญก้าวหน้า
วิวัฒนาการเป็นปึกแผ่นมาพอสมควร
และนับเป็นพระราชมรดกอันล้ำค่าของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๖
ส่วนหนึ่ง
ที่ช่วยให้ประเทศชาติมีความมั่นคงตราบเท่าทุกวันนี้
ถ้าเป็นอายุคนก็ล่วงเลยมาถึงวัยชราแล้ว
คงเป็นที่ทราบอยู่ดีแล้วว่า
ผู้ที่เป็นข้าราชการ
หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
หรือทำงานอยู่ในองค์กรเอกชนใดก็ตาม
เมื่อได้ทำงานในหน่วยงานนั้น
ๆ
เป็นเวลานานจนมีอายุได้
๕๕ หรือ ๖๐ ปี
ก็ต้องครบเกษียณอายุจากงานนั้น
ๆ
ถูกปลดเป็นข้าราชการบำนาญ
หรือเป็นราษฎรเต็มขั้น
ชายไทยที่ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติบ้านเมืองตามกฎหมายเมื่ออายุครบ
๒๐
ปีก็เช่นกัน
หลังจากได้เข้าไปเป็นทหารเกณฑ์ครบ
๒ ปี
หรืออาจจะน้อยกว่านั้น
ถ้าได้รับการฝึกหัดศึกษาเล่าเรียน
เป็นนักศึกษาวิชาทหาร
จากนั้นก็จะถูกปลดเป็นทหารกองหนุนต่อไป
การเป็นลูกเสือก็เช่นกัน
ตามปกติเด็ก ๆ
ก็สามารถสมัครเป็นลูกเสือได้เมื่ออายุ
๘-๒๑ ปี
และเป็นลูกเสือต่อไปได้จนถึงอายุ
๒๕
ปี
ก็จะพ้นสภาพการเป็นลูกเสือ
แต่ถ้ายังมีความศรัทธาต่อการลูกเสืออีก
ก็สามารถสมัครเข้าเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือได้ต่อไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่เรียกว่าไม่มีเกษียณอายุการเป็นลูกเสือ
ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องจากได้มีโอกาสอ่านพบคำสั่งสอนของพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์
กรรมการกลางจัดการลูกเสือซึ่งได้กล่าวแก่ลูกเสือกองหนุนรุ่นแรก
ในการแจกเหรียญลูกเสือกองหนุนเมื่อวันที่
๑๘ กันยายน ๒๔๕๖
ซึ่งมีใจความสรุปได้ว่า
ตามระเบียบข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือ
ลูกเสือเมื่อพ้นสภาพการเป็นลูกเสือแล้ว
จะถูกปลดเป็นลูกเสือกองหนุน
โดยจะได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือกองหนุนเป็นเครื่องหมายเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจว่า
เมื่อออกจากประจำกองลูกเสือแล้ว
และถูกเรียกว่าเป็นลูกเสือกองหนุนนั้น
มีความเข้าใจตนเองว่ากระไร
โดยย้ำว่า
การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
๖
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ฯ ให้ตั้งกองลูกเสือขึ้น
และพระราชทานพระบรมราชานุญาตแก่นักเรียน
ซึ่งสมัครจะเป็นลูกเสือให้เป็นลูกเสือได้นั้น
เด็กสมัครเป็นลูกเสือเพราะชอบเครื่องแบบลูกเสือ
หรือสมัครเป็นเพราะอยากสนุก
หรือว่าอะไรกันแน่
เพราะโดยพระราชประสงค์แท้จริงที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ฯ
ให้มีกองลูกเสือนั้น
ทรงหวังประโยชน์เพื่อจะฝึกหัดให้พลเมืองมีใจเป็นลูกเสือและให้มีนิสัยเป็นลูกเสือ
ฉะนั้น
เมื่อเด็กคนใด
ได้เคยเป็นลูกเสือแล้วออกเป็นกองหนุน
ก็อย่าไปเข้าใจผิดว่า
ตนพ้นจากความเป็นลูกเสือแล้ว
อย่าเข้าใจผิดไปว่าความซื่อสัตย์ภักดี
ความประพฤติชอบก็ดี
ซึ่งได้รับการสั่งสอนในเวลาที่เป็นลูกเสือจะไม่ต้องประพฤติให้มีอยู่ตลอดไปเพราะกิจการลูกเสือมุ่งที่จะให้ลูกเสือทุกคนประพฤติตนดังนี้
๑.
ให้ลูกเสือระลึกถึงพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รักชาติบ้านเมือง
และนับถือเสื่อมใสในพระพุทธศาสนา
๒.
ให้มีความโอบอ้อมอารีรักเพื่อนมนุษย์ที่ร่วมชาติ
และให้นึกถึงตนภายหลังผู้อื่น
ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นในทางที่ผิด
๓.
ให้เป็นผู้เคารพในธรรม
และในพระราชกำหนดกฎหมายของบ้านเมือง
ให้รักดีเกลียดชัง
ความชั่ว
ให้มีใจสุจริต
ซื่อตรง
ถือความสัตย์
๔.
ปลงใจและชักจูงให้พอใจในทางเสือป่า
ให้ชอบเป็นลูกผู้ชาย
ให้ละอายในการที่อ่อนแอ
หรือขลาด
ให้ละเว้นการเล่นเหลวแหลก
และการเที่ยวเตร่อย่างที่ไม่สมควรเด็กจะประพฤติ
๕.
ให้ฝึกหัดให้อกผายไหล่ผึ่ง
๖.
ให้มีความรู้ในทางเสือป่าตามที่ได้แนะนำไว้ในแบบสั่งสอนเสือป่าและลูกเสือ
๗.
ให้ใช้ความคิดชอบตนเอง
แต่ไม่ใช่ให้ใช้ในทางที่ผิด
ต้องถือวินัยอย่างเคร่งครัด
ข้อพระราชประสงค์ที่จะให้ลูกเสือเป็นอย่างไรดังที่กล่าวมาแล้ว
ขอให้ผู้ที่เข้าประจำกองเป็นลูกเสือ
ตั้งใจประพฤติตามนี้
จนกระทั่งได้เป็นกองหนุน
และควรจะยึดถือไว้เป็นคุณสมบัติประจำตัว
อย่าให้เสื่อมสูญไปได้
การที่ฝึกหัดลูกเสือก็เพื่อจะให้ได้ความดีติดอยู่ในตัวเสมอดังกล่าวนี้
ต่อไปข้างหน้าเมื่อพลเมืองของเราเป็นลูกเสือมากเข้า
พลเมืองของเราก็จะเป็นดีมากขึ้น
การกระทำความชั่วร้ายเบียดเบียนไพร่บ้านเมืองก็จะน้อยลงไป
คุณประโยชน์แก่งการที่ผู้กำกับและรองผู้กำกับได้เหน็ดเหนื่อย
พยายามทำการฝึกหัดลูกเสือจะเป็นเครื่องอิ่มใจด้วยความสำเร็จดังกล่าวนี้
เหรียญที่ระลึกสำหรับลูกเสือกองหนุนที่ได้รับพระราชทานไปนี้
ให้ลูกเสือกองหนุนใช้ร้อยสายสร้อยหรือด้าย
ผูกคอได้ทุกเวลา
และเหรียญนี้เป็นของพระราชทานควรนับถือเป็นเหมือนเครื่องรางอันสำคัญ
เมื่อเห็นเหรียญหรือจับต้อง
ให้นึกเสมอว่าเราได้พระราชทานเพราะคุณความดีที่ได้ประพฤติมา
และจงเตือนใจ
ตนเองว่า
เราจะไม่ประพฤติชั่วต้องทำความดีอยู่เสมอ
และหากจะมีอะไรมาชักจูงใจเราให้ประพฤติชั่วร้ายอันผิดลักษณะลูกเสือแล้ว
ให้เอามือจับเหรียญที่ระลึกนี้ตั้งใจบังคับใจตนเองให้เป็นเครื่องห้ามไว้
อย่าให้ประพฤติความชั่วนั้นจงได้
และให้ระลึกเสมอว่า
การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นหน้าที่อันสำคัญของลูกเสือ
ปัจจุบันที่สังเกตเห็นในเวลานี้
ลูกเสือจะไม่ใคร่เอาใจใส่ในการนี้มักจะหาทางหลีกเลี่ยงไปเสีย
บางคนก็เห็นเสียว่าไม่มีอะไรที่จะทำ
ความจริงนั้น
ถ้าตั้งใจจะทำแล้ว
ย่อมมีโอกาสที่จะทำได้ทุกวัน
วันหนึ่งอาจพบตั้งหลายครั้งก็ได้
ฉะนั้น ทุก ๆ
วันต้องหาโอกาสทำการที่เป็นประโยชน์เสมอ
แม้เป็นการเล็กน้อยก็ต้องทำอย่ารอคอยแต่จะทำที่สำคัญ
ก่อนที่จะนอน
ลูกเสือควรระลึกดูว่า
วันนี้
ได้ทำอะไรซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นบ้าง
ถ้าไม่ได้ทำอะไรควรรู้สึกเสียใจและตั้งใจทำในวันรุ่งขึ้น
เพื่อให้เป็นเครื่องเตือนใจมากขึ้น
ควรมีสมุดพกเมื่อได้ทำการช่วยเหลือครั้งหนึ่งก็ควรจดลงครั้งหนึ่ง
ว่าได้ทำอะไร
เมื่อไรแล้วคอยพลิกดูเสมอ
ให้ได้มีจดขึ้นใหม่ทุกวัน
ผู้กำกับลูกเสือ
รองผู้กำกับลูกเสือ
นายหมู่ลูกเสือควรแนะนำให้ลูกเสือปฏิบัติอย่างนี้
และควรให้มีเวลาถามว่าใครได้ทำอะไรบ้าง
เพื่อให้กำลังใจอยู่เสมอ
ๆ
กิจการลูกเสือไทยเจริญก้าวหน้ามา
๙๖ ปีแล้ว
ขอจงช่วยกันทำนุบำรุงให้เจริญก้าวหน้ายิ่ง
ๆ ขึ้นไป
ดังพระราชประสงค์ในการจัดตั้งเสือป่าและลูกเสือที่องค์พระผู้พระราชทานกำหนดได้ทรงพระราชทานไว้ดังนี้
".......การที่ตั้งเสือป่าขึ้น
ก็ด้วยความมุ่งหมายจะให้คนไทยทั่วกันรู้สึกว่า
ความจงรักภักดีต่อผู้ดำรงรัฐสีมาอาณาจักร์
โดยต้องตามนิติธรรมประเพณีประการ
๑
ความรักชาติบ้านเมือง
และนับถือพระศาสนา
ประการ ๑
ความสามัคคีในคณะ
และไม่ทำลายซึ่งกันและกัน
ประการ ๑ ทั้ง ๓
ประการนี้เป็นมูลรากแห่งความมั่นคง
จะทำให้ชาติเราดำรงอยู่เปนไทยได้สมนาม
มิให้เสียทีที่บรรพบุรุษของเราทั้งหลายได้สู้ก่อสร้างปลูกฝังชาติเราไว้ในแว่นแคว้นแนสยามนี้
ถึงการที่ได้คิดจัดให้มีลูกเสือขึ้น
ก็โดยความปราถนาที่จะให้เด็กไทยได้ศึกษาและจดจำข้อสำคัญทั้ง
๓ ประการ
อันกล่าวมาแล้วนั้น
ให้ยังมั่นอยู่บนดวงจิตร
ตั้งแต่ยังมีอายุอยู่ในปฐมวัย
เพื่อว่าเมื่อเติบใหญ่ขึ้นแล้วก็จะได้คงรู้สึกเช่นนั้นอยู่ตลอดชีวิตร
และจะได้ตั้งจิตประพฤติตนเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอันประเสริฐ
มิให้เสียทีที่ได้กำเหนิดมาในชาติไทย
จะได้ตั้งใจไว้ชื่อในโลกนี้ให้มีผู้นับหน้าถือตา
และให้เขาทั้งหลายเห็นปรากฎว่าชาติเราเป็นชาติที่ยังไม่ตายยังจะถาวรและจำเริญยิ่งขึ้นไปทุกวัน....."
(ลายพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
๓ ธันวาคม ร.ศ.๑๓๐
(พ.ศ.๒๔๕๔).
พระดำรัสตอบในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช.
เบ็ดเตล็ด (ร.๖ บ ๑.๒/๙)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
เอกสารใน
ผอ.สมมาต สังขพันธ์
ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาลูกเสือและบุคลากรทางการลูกเสือ
อนุกรรมการลูกเสือภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก
ฝ่ายพัฒนาบุคลากร
สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
เลขที่ 154 ศาลาวชิราวุธ
ถ.พระราม 1 เขตปทุมวัน กทม.10330
|